วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2558

ท่องเทียวพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือราชพิธี


        
        เรือพระราชพิธี เป็นเรือที่ใช้ในพิธีทางชลมารคที่เรียกกันว่า "กระบวนพยุหยาตราชลมารค"  ซึ่งเป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ ที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยกระบวนเรือจะจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงคราม ซึ่ง เรือพระราชพิธี มีความวิจิตรสวยงามในฝีมือช่างต่อเรืออันล้ำเลิศ ทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม และถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของคนไทย นอกจากนี้  เรือพระราชพิธีเหล่านี้ ยังถูกนำมาใช้งานอยู่อย่างต่อเนื่อง กรมศิลปากรจึงเห็นความสำคัญและได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่างๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมทั้งยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภาคกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517


          ซึ่งในปัจจุบันได้มีไว้ใช้ในช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือเพื่อให้ไพร่พลได้รื่นเริงในการกุศล ไม่เพียงประเพณีถวายผ้าพระกฐินเท่านั้น ขบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีตยังจัดขึ้นในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญ พระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง การต้อนรับทูตต่างประเทศ เป็นต้น
      
  





   เหตุที่มีพระราชประสงค์ในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเห็นเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้ามีการฟื้นฟูการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้นคงไม่สิ้นเปลืองอะไรมากนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้คนของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่างๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้ จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
                                                             


   


  ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เปรียบเสมือนสมบัติล้ำค่าของประเทศชาติไทย เป็นสิ่งที่มีคุณค่าคู่ควรที่จะอนุรักษ์ไว้ และยังสามารถหาความรู้ในเรื่องเรือราชพิธีได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี




        พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย ดังนั้น ในปี พ.ศ.2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือ ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร จัดทำการซ่อมแซมดูแลรักษาบรรดาเรือต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้ ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงต้นฉบับมากที่สุด และตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ ตรงข้าม สถานีรถไฟบางกอกน้อยนั่นเองค่ะ

                                                                                                                 
การเดินทาง


    -รถประจำทางสาย 19, 57, 79, 80, 81, 91, 127, 147, 149
    -รถปรับอากาศสาย 79, 503, 507, 509, 511


          ภายใน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี มีอาคารตั้งอยู่จำนวน 2 หลัง นั่นก็คือ อาคารสำนักงานของ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และ อาคารห้องจัดแสดง เรือพระราชพิธี คือ โขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือครุฑเหินเห็จ, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรืออสุรวายุภักษ์, เรือเอกไชยเหินหาว และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ประกอบต่างๆ ใน พระราชพิธีทางชลมารค เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่างๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย

          หากอยากไปเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ก็สามารถไปเยี่ยมชมได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดค่ะ โดย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เปิดทำการตั้งแต่09.00 - 17.00 น. ปิดเพียง 2 วัน คือ วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ โดย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามสถานีรถไฟบางกอกน้อย หากไปไม่ถูก สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่หมายเลข 02 - 424 - 0004 ค่ะ

อัตราค่าเข้าชม 
           พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี สำหรับชาวไทย เสียค่าบริการคนละ 10 บาท ส่วนชาวต่างชาติ เสียค่าบริการคนละ 30 บาท ส่วน นักเรียน นักศึกษา ในเครื่องแบบ รวมถึงพระภิกษุสามเณร และนักบวชในศาสนาต่างๆ สามารถเข้าชมโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ ค่ะ
               นอกจากนี้ยังได้ไปสัมภาษณ์ผู้เชียวชาญเกี่ยวกับเรื่องเรือพระราชพิธี ว่าเรือนั้นมีความสำคัญอย่างไร และปัจจุบันมีการใช้ในพระราชพิธีใดบ้าง


Creative Commons License
ตามรอยเรือราชพิธี by ณัฐวรา is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.