สรุปหนังสือทั้ง3เล่ม





        เรือพระราชพิธี เป็นคำเรียกเรือที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้โดยเสด็จในการพระราชกรณียกิจต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งโบราณ เช่น เป็นพาหนะทรงในกระบวนทัพเมื่อเกิดศึกสงคราม การถวายผ้าพระกฐิ น การจัดกระบวนเรือรับราชฑูต  และการเสด็จนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี การจัดกระบวนเรือดังกล่าวเรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเป็นการจัดเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง การจัดกระบวนเรือพระราชพิธีที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จกระบวนพยุหยาตราชลมารคที่สำคัญในปัจจุบัน คือ กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวราราม

         ในสมัยอยุธยาเรือที่นำมาใช้ในกระบวนเรือพระราชพิธี ส่วนมากจะเป็นเรือที่ มีขนาดใหญ่รูปร่างเพรียวยาว ใช้ฝีพาย พายไปได้เร็ว เดิมใช้เป็นเรือรบประเภทขับไล่ทางแม่น้ำ

ลักษณะหน้าที่ของเรือพระราชพิธีแบ่งเป็น 2 เหล่า คือ เรือเหล่าแสนยากร และ เรือพระที่นั่ง

เรือเหล่าแสนยากร

1.เรือประตู ลักษณะเป็นเรือกราบ ทำหน้าที่เป็นเรือริ้วกระบวน
2.เรือพิฆาต เป็นเรือแล่นเร็ว ทำหน้าที่นำกระบวนเป็นลำดับแรก เป็นเรือที่มีหัวเสือ
3.เรือดั้ง เป็นเรือกระบวนสายนอก ทำหน้าที่ป้องกัน คุ้มกันเรือใน เป็นเรือไม้ลงรักปิดทอง
4.เรือแซง เป็นเรือขนาดเล็ก แล่นเร็ว จัดเป็นเรืออารักขาพระมหากษัตริย์
5.เรือคู่ชัก เป็นเรือไชย ทำหน้าที่ลากจูงเรือพระที่นั่ง เรือคู่ชักมีชื่อว่า เรือทองบ้าบิ่น และ เรือทองขวานฟ้า
6.เรือตำรวจ เป็นเรือที่ตำรวจหรือข้าราชการลงประจำ ทำหน้าที่เป็นองครักษ์
7.เรือกลองนอก-กลองใน เป็นเรือสัญญาณ ที่ให้เรืออื่นหยุดหรือพายเรือจ้ำ
8.เรือกัน เป็นเรือที่ป้องกันศัตรู ไม่ให้จู่โจมมาถึงเรือพระที่นั่ง
9.เรือรูปสัตว์ มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ อาจจัดเป็นเรือพิฆาต เรือเหล่าแสนยากร หรือเรือพระที่นั่งได้

เรือพระที่นั่ง
          

           เรือที่สำคัญที่สุดในกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ เรือพระที่นั่ง จัดเป็นเรือที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เรือพระที่นั่งทุกลำจะมีการตกแต่งลวดลาดให้งดงาม เรือพระที่นั่งจะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เช่น
- เรือต้น คือเรือพระท่นั่งของพระมหากษัตริย์หรือเรือลำที่โดยเสด็จลำลอง เป็นการประพาสต้น    - เรือพระที่นั่งกิ่ง เป็นเรือพระที่นั่งที่มีความสวยงามเป็นพิเศษ และมีลายกิ่งไม้ประดับที่หัวเรือ     - เรือพระประเทียบ เป็นเรือที่นั่งสำหรับเจ้านายฝ่ายใน



          เรือพระราชพิธีมีทั้งหมด 52 ลำ ซึ่งประกอบด้วยเรือรูปสัตว์ จำนวน  6 ลำ เรือดั้ง เรือแซง จำนวน 38 ลำ 

เรือพระราชพิธีที่จัดแสดงมีจำนวน 8 ลำ ได้แก่

 เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์  

           จัดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง หรือเรียกว่า เรือพระที่นั่งทรง สร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมชื่อ เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ลำปัจจุบันสร้างทดแทนเรือลำเดิมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และเป็นมรดกทาวัฒนธรรมที่สำคัญของโลก ดังนั้น องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักรจึงมอบรางวัลเกียรตืยศมรดกทางทะเลประจำปี 2535



เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

            เป็นเรือลำแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 9 โดยรัฐบาลมอบให้กองทัพเรือร่วมกับกรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง จัดสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ครบ 50 ปี
            เรือพระที่นั่งที่มีโขนเรือเป็นรูปครุฑ มีมาแต่สมัยอยุธยา แต่มีหลักฐานเป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 3 ที่มีชื่อว่า เรือมงคลสุบรรณ



เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
       
              เป็นเรือพระที่นั่งลำแรกและลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดป็นเรือพระที่นั่งชั้นลอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนิน ต่อมาได้จัดเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง


                                                   
                                                                             โขนเรือลำเก่า

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

           สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จัดเป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สำหรับพระมหากษัตริย์ประทับ หรือ อันเชิญผ้าพระกฐิน หรือ ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เรีบกว่า เรือพระที่นั่งรอง



เรือเอกไชยเหินหาว 

              สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาถูกระเบิดได้รับความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมอู่ทหารเรือและกรมศิลปากร จึงสร้างขึ้นใหม่ โดยใช้โขนเรือเดิม และท้ายเรือเดิม จัดเป็นเรือประเภทเรือรูปสัตว์ ทำหน้าที่เป็นเรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค


เรืออสุรวายุภักษ์

            จัดเป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือกระบวนเขียนลายทอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 


 เรือครุฑเหินเห็จ
           
          จัดเป็นเรือรูปสัตว์ในกระบวนปิดทอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2511 โดยใช้โขนหัวเดิม


เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

           จัดเป็นเรือรูปสัตว์ ประเภทเรือกระบวนปิดทอง สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 




จุดประสงค์ของการสร้างเรือ

      1. อดีตเราใช้เรือในแม่น้ำลำคลองสัญจรไปมา ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การค้าขาย และการศึกสงครามโดยเฉพาะในยุคกรุงศรีอยุธยา จุดประสงค์หลักในการสร้างเรือก็เพื่อใช้ในการศึกสงคราม
 
      2. สร้างขึ้นเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ  ทั้งทีเป็นส่วนพระองค์และในพระราชพิธี

      3. รักษามรดกทางวัฒนธรรมไทย และอนุรักษณ์ฝีมือช่างของแต่ละยุคสมัยสืบไป



                                              


                                                  


Creative Commons License
ตามรอยเรือราชพิธี by ณัฐวรา is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น